การจัดการโรคมะเร็ง
ฉันอยากรู้ว่า ในร่างกายตอนนี้
มีมะเร็งที่กำลังแพร่กระจายหรือเปล่า
ฉันอยากรู้ความเสี่ยงที่ฉันจะเป็นมะเร็ง
ทั้งตอนนี้และในอนาคต
ฉันอยากรู้ความเสี่ยงที่ฉันจะเป็นมะเร็งในอนาคต
บอกลามะเร็ง ด้วยการตรวจหาเซลล์มะเร็งในเลือด (ซีทีซี)
มะเร็งเป็นโรคไม่ติดต่อที่มีอุบัติการณ์เกิดโรคและอัตราการเสียชีวิตสูงทั่วโลก
สถาบันมะเร็งแห่งชาติ ประเทศไทยรายงานการเพิ่มขึ้นของอุบัติการณ์โรคมะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก มะเร็งปอด มะเร็งต่อมลูกหมาก โดยคิดเป็นเปอร์เซนต์มากกว่า 60% ของอุบัติการณ์มะเร็งทั้งหมดของไทย
มะเร็งจึงเป็นหนึ่งในปัญหาใหญ่ที่ท้าทายด้านสุขภาพระดับชาติของประเทศไทยและความต้องการเครื่องมือในการคัดกรองโรคที่มีประสิทธิภาพและง่ายแก่การปฏิบัติเพิ่มมากขึ้น
ผู้ป่วยมะเร็งส่วนใหญ่เสียชีวิตจากการแพร่กระจายของโรคมะเร็ง ดังนั้น ผู้ป่วยมะเร็งจึงต้องเฝ้าระวังการแพร่กระจายโรคโดยการตรวจติดตามเป็นระยะๆ ทั้งจากอาการทางคลินิค การใช้ตัวชี้วัดทางชีวภาพ
การตรวจทางรังสีวิทยา (เอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์(ซีที) เพ็ทซีที เอ็มอาร์ไอ ฯลฯ)
วิธีใหม่ในการติดตามเฝ้าระวังโรคสำหรับผู้ป่วยมะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก
มะเร็งต่อมลูกหมาก คือการตรวจหาเซลล์มะเร็งในเลือด(ซีทีซี)
เฉพาะในสหรัฐอเมริกามีการตรวจหาเซลล์มะเร็งในเลือด(ซีทีซี)มากกว่าแสนครั้งต่อปี
การตรวจ เซลล์เซิร์ช ซีทีซี (CellSearch CTC) ของเราเป็นวิธีตรวจวิธีแรกและวิธีเดียวที่ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยา สหรัฐอเมริกาสำหรับการตรวจหาเซลล์มะเร็งในเลือด เพื่อใช้ในการพยากรณ์โรคของผู้ป่วยที่อยู่ในระยะลุกลามของมะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก โดยการตรวจนี้จะจับและนับจำนวนเซลล์มะเร็งที่ล่องลอยในกระแสโลหิตผู้ป่วย(1)
ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าการตรวจวิธีนี้มีประโยชน์ ช่วยให้ข้อมูลด้านการพยากรณ์โรค
กับแพทย์ผู้ดูแลในการติดตามการกระจายของโรคมะเร็งหรือการตอบสนองต่อการรักษา
ผลการศึกษาพบว่า การตรวจพบรวมถึงจำนวนเซลล์มะเร็งที่ตรวจพบไม่ว่าจะในช่วงเวลาใดของการรักษาเป็นสิ่งที่บ่งชี้โอกาสโรคสงบและโอกาสรอดชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลาม สามารถให้ข้อมูลพยากรณ์โรคที่มีคุณค่าช่วยสนับสนุนการตัดสินใจเลือกวิธีรักษา(2-4).
อย่าให้เวลาของคุณสูญเปล่า
คนปกติที่ไม่เป็นมะเร็งไม่ควรมีเซลล์มะเร็งในเลือด
การพบเซลล์มะเร็งในเลือด(ซีทีซี) จะเร็วกว่าการตรวจพบมะเร็งทางรังสีวิทยาโดยเฉลี่ย 2.8 ปี(5)
การพบเซลล์มะเร็งในเลือด(ซีทีซี)เพิ่มความเสี่ยงมะเร็งกลับซ้ำ 13 เท่าเปรียบเทียบกับการตรวจไม่พบเซลล์มะเร็งในเลือด(ซีทีซี) (5)
อย่าเสียเวลาอันมีค่ากับวิธีตรวจคัดกรองที่ไม่ไวพอ
เช่น การตรวจทางรังสีวิทยาแบบเดิมๆ หรือการตรวจสารบ่งชี้มะเร็ง (Tumor markers)
การตรวจทางพยาธิวิทยาแบบของเหลวจากตัวอย่างเลือดเพื่อหาเซลล์มะเร็งที่อาจกำลังลุกลาม
ทำให้แพทย์มะเร็งวิทยามีโอกาสได้ข้อมูลมากขึ้นในปัจจุบัน
ไทยสเตมไลฟ์
ขอเสนอการตรวจหาเซลล์มะเร็ง
ในเลือด(ซีทีซี)ที่แตกต่างกัน 2 เทคนิค
ทั้ง2 แบบใช้เพียงตัวอย่างเลือดปริมาณเล็กน้อย
วิธีการตรวจเอฟเอ็กซ์ซีทีซี ซึ่งเป็นเทคนิคล่าสุดของเราในอีกไม่นานจะสามารถให้บริการตรวจรหัสพันธุกรรมจากเซลล์ๆเดียวเพื่อหาที่มาของเซลล์มะเร็งและดูความไวของเซลล์มะเร็ง
ต่อยาเคมีบำบัด
สามารถสอบถามเราเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม
Clin Cancer Res
2004;10(20):6897-6904
N Engl J Med
2004;351(8):781-791
Clin Cancer Res
2008;14(19):6302-6309
J Clin Oncol
2008;26(19):3213-3221
JAMA Oncol.
2018 Dec 1;4(12):1700-1706