อะไรที่เป็นสเต็มเซลล์ทารกที่แท้จริง
สเต็มเซลล์จากเลือดสายสะดือ
สเต็มเซลล์ คือหนึ่งในกลุ่มเซลล์ที่มีศักยภาพสูงสุดในร่างกายมนุษย์ มักถูกเรียกว่า มาสเตอร์เซลล์ สเต็มเซลล์กระตุ้นการสร้างหรือพัฒนาไปเป็นเซลล์อื่นๆซึ่งเป็นองค์ประกอบในทุกๆ ส่วนของร่างกาย รวมทั้งซ่อมแซมฟื้นฟูเนื้อเยื่อและอวัยวะทุกส่วน
สเต็มเซลล์มีความสามารถเพิ่มจำนวนตัวเองและพัฒนาไปเป็นเซลล์ต่างๆ ในร่างกายมนุษย์มากกว่า 220 ชนิด ไทย สเตมไลฟ์ ให้บริการเก็บและฝากเซลล์จากเลือดสายสะดือหรือเป็นที่รู้จักในชื่อ เซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือด (สร้างโลหิต) ซึ่งมีคุณสมบัติ เช่นเดียวกับสเต็มเซลล์จากไขกระดูกและกระแสโลหิต แต่มีความอ่อนเยาว์กว่าและง่ายกว่าในการพัฒนาไปเป็นเซลล์ชนิดอื่นๆ
หน้าที่หลักของเซลล์เหล่านี้คือการเจริญเติบโตเป็นเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือด แต่จากงานวิจัยล่าสุดพบว่าทั้งในเลือดสายสะดือ เนื้อเยื่อสายสะดือ เยื่อหุ้มรก ยังมีเซลล์อีพีซีซึ่งเป็นเซลล์ต้นกำเนิดหลอดเลือด (เซลล์สำหรับสร้างเส้นเลือด) และเซลล์เอ็มเอสซี (สามารถเจริญเป็นกระดูก กระดูกอ่อน เซลล์ประสาท และกล้ามเนื้อ) ทำให้โอกาสนำไปใช้ไม่มีที่สิ้นสุด
สเต็มเซลล์จากเลือดสายสะดือ
เลือดที่อยู่ในสายสะดือของทารกแรกเกิดเป็นหนึ่งในแหล่งของสเต็มเซลล์ผู้ใหญ่ที่สำคัญที่สามารถเก็บตั้งแต่แรกคลอดที่เรียกว่า สเต็มเซลล์เลือดสายสะดือ
ภายหลังจาการเก็บเลือดสายสะดือด้วยระบบปิดมาตรฐานนานาชาติสากลของเรา เลือดจะถูกส่งมายังห้องปฏิบัติการของเรา (ในกรุงเทพ ไม่ใช่ส่งไปห้องปฏิบัติการในประเทศที่ห่างไกลหรือต่างจังหวัดที่เสี่ยงน้ำท่วม) เพื่อเข้าสู่กระบวนการในห้องปฏิบัติการโดยเทคโนโลยีล่าสุดของ SEPAX จากนั้น
สเต็มเซลล์ที่ผ่านการคัดแยกจะถูกแช่แข็งในอุณหภูมิ -196 องศาเซลเซียส ซึ่งจะหยุดกระบวนการทำงานภายในเซลล์ ซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมที่ดีที่สุดของสเต็มเซลล์ เลือกเก็บสเต็มเซลล์จากเลือดสายสะดือลูกของคุณในกรุงเทพกับไทยสเตมไลฟ์ หลีกเลี่ยงความเสี่ยงเสียหายจากการสูญเสียความเย็นระหว่างการขนส่งออกนอกประเทศ
สำคัญกว่านั้น คุณรู้ว่าคุณสามารถติดต่อใครและคุณสามารถมาเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการของเราได้เสมอ เป็นการง่ายและปลอดภัยกว่าสำหรับคุณที่จะขอใช้สเต็มเซลล์ในยามจำเป็นในอนาคตโดยไม่ต้องส่งสมาชิกอันเป็นที่รักไปรับการรักษายังประเทศที่ห่างไกล กับคนแปลกหน้าที่มีวัฒนธรรมต่างกัน บริษัทเรายังมีถัง “Cryoshipper” ซึ่งเป็นถังสำหรับบรรจุสเต็มเซลล์ด้วยระบบไนโตรเจนเหลวที่เคลื่อนย้ายได้สำหรับการขนส่งสเต็มเซลล์ไปทั่วโลก
การเก็บเลือดสายสะดือทำได้ง่ายมากหลังจากที่ลูกคุณคลอดโดยปราศจากความเสี่ยง ไม่รบกวนกระบวนการคลอดปกติ (ไม่ว่าจะเป็นการคลอดธรรมชาติหรือผ่าคลอด) ภายในเวลา 5 นาที เลือดสายสะดือจะถูกเก็บหลังจากสูติแพทย์ตัดสายสะดือออกจากตัวทารก ซึ่งการเก็บเลือดจะไม่เกิดความเจ็บปวดใดๆทั้งมารดาและทารก! โอกาสที่คนในครอบครัวเดียวกันจะมีเนื้อเยื่อตรงกันสูงกว่าคนนอกครอบครัว (1 ใน 4 เทียบกับ 1 ใน 50,000) ทำให้คนอื่นในครอบครัวอาจสามารถใช้สเต็มเซลล์ที่เก็บไว้ได้ถ้าในอนาคตมีความจำเป็น (ต้องตรวจความเข้ากันได้ของเนื้อเยื่อเอชแอลเอก่อน) ในอนาคตข้อบ่งชี้ในการใช้สเต็มเซลล์จะมากขึ้น ในปัจจุบัน มากกว่า 100 โรคที่รักษาได้ด้วยสเต็มเซลล์ และแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว อาจสามารถนำไปใช้กับโรคทางหัวใจหรือสมอง (โรคหลอดเลือดสมอง ไขสันหลังบาดเจ็บ) ในอนาคตอันใกล้ ผลการวิจัยทดลองกับโรคพาร์คินสันและอัลไซเมอร์ที่อยู่ระหว่างการศึกษาเป็นที่น่าพอใจ จำนวนครอบครัวทั่วโลกที่เลือกเก็บเลือดอันมีคุณค่าที่เต็มไปด้วยสเต็มเซลล์เพิ่มขึ้นมากและบริการนี้ก็พร้อมสำหรับคุณเช่นกัน
โรค
ที่รักษา
ข้อบ่งชี้
ในการปลูกถ่ายไขกระดูก
โรคระบบภูมิคุ้มกันบกพร่องแต่กำเนิด
1
ภูมิคุ้มกันบกพร่องทั้งทีและบีเซลล์แบบรุนแรง
2
ภูมิคุ้มกันบกพร่องร่วมกับมีภาวะเกล็ดเลือดต่ำและมีขนาดเล็ก
3
กลุ่มโรคไขกระดูกทำงานล้มเหลว
4
โรคโลหิตจางจากไขกระดูกฝ่อ (รุนแรง)
5
โรคโลหิตจางแต่กำเนิดแฟนโคนี
6
โรคโลหิตจางแต่กำเนิดไดมอนด์แบลคแฟน
เมตาบอลิซึมผิดปกติตั้งแต่กำเนิด
1
โรคเอ็มพีเอส (การคั่งหรือสะสมของ
สารมิวโคโพลีแซคคาริโดซิส)
(เช่น ฮันเตอร์หรือ เฮอร์เลอร์ ซินโดรม)
2
ภาวะเสื่อมของสมองส่วนสีขาว
3
โรคความผิดปกติในการจัดเก็บไกลโคโปรตีน (เช่น ไม่สามารถย่อยน้ำตาลฟิวโคส หรือ น้ำตาลแมนโนส)
4
กลุ่มโรคความผิดปกติการสะสมไขมันในไลโซโซม (เช่น โรคโกเช่, โรคพอม-เพ หรือ โรคนีแมนน์พิก)
5
โรคกระดูกหิน (กระดูกแข็งที่เปราะและแตก โพรงไขกระดูกไม่เจริญ)
6
กลุ่มโรคกระดูกเปราะแต่กำเนิดเกิดจากความผิดปกติในการสร้างคอลลาเจน
ความผิดปกติในการสร้างฮีโมโกลบิน
1
โรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย
2
โรคโลหิตจางแบบซิกเคิลเซลล์ (เม็ดเลือดแดงรูปเคียว)
โรคมะเร็งหรือความผิดปกติของต้นกำเนิดเม็ดเลือดในไขกระดูก
1
2
มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลัน
มะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังชนิดมัยอิลอยด์
3
มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอดจ์กินและนอนฮอดจ์กิน
4
ไมอีโลดิสพลาสติก ซินโดรม (เอ็มดีเอส) ภาวะไขกระดูกผิดปกติก่อนเป็นมะเร็ง
5
โรคที่ไขกระดูกสร้างเม็ดเลือดบางชนิดมากผิดปกติ มีโอกาสกลายเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาว
6
มะเร็งไขกระดูกชนิดมัยอิโลมา
7
มะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังชนิดลิมฟอยด์
เนื้องอกมะเร็ง
1
มะเร็งเต้านม
2
มะเร็งรังไข่
3
มะเร็งของเซลล์ไต
4
5
มะเร็งอัณฑะ
มะเร็งปอดชนิดเซลล์ขนาดเล็ก
6
มะเร็งกระดูกอีวิงซาร์โคม่าในเด็ก
7
มะเร็งตับอ่อน
8
9
มะเร็งลำไส้ใหญ่
มะเร็งสมองชนิดเมดดัลโลบลาสโตมา
มะเร็งในเด็ก
1
2
3
มะเร็งที่ไตในเด็ก
มะเร็งปมประสาทในเด็ก (นิวโรบลาสโตมา)
มะเร็งกระดูกอีวิงซาร์โคม่าในเด็ก
4
เนื้องอกสมองกลิโอมาที่มีความรุนแรง (เช่น มะเร็งสมองชนิด เมดดัลโลบลาสโตมา)
5
เนื้องอกสมอง
อื่นๆ
1
โรคพีเอ็นเอช (การทำลายเม็ดเลือดแดงที่เกิดจากระบบภูมิคุ้มกัน)
2
3
โรคโลหิตจางจากไขกระดูกฝ่อเป็นภายหลัง
โรคปลอกประสาทอักเสบ (เอ็มเอส)
4
โรคเอสแอลอี (โรคแพ้ภูมิตนเองที่เกิดอาการกับหลายอวัยวะพร้อมกัน)
5
โรคแพ้ภูมิตนเอง เช่น เบาหวานชนิดที่ 1
ข้อมูลจาก : Cord principles in cellular therapy AABB Technical manual 20th edition EMBT 2009.
โอกาสใช้ในอนาคตกับโรค
ที่เกิดจากความเสื่อมทางการแพทย์
ภาวะสมองบาดเจ็บ
1
โรคเบาหวาน
2
โรคหัวใจและหลอดเลือด
3
โรคที่เกิดจากความเสื่อมของระบบประสาท
(พาร์กินโซนิซึม และ โรคอัลไซเมอร์)
4
โรคของข้อต่อ
5
6
ไขสันหลังบาดเจ็บ
7
โรคสมองพิการซีพี
8
โรคตับแข็ง
9
การสูญเสียการได้ยิน
10
ยีนบำบัด
การบาดเจ็บทางสมอง
สาเหตุอันดับ 1 และ 2 ของการเสียชีวิตและการบาดเจ็บในเด็กอายุน้อยกว่า 15 ปีในไทย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และทั่วโลก
การจมน้ำ
อุบัติเหตุบนท้องถนน
สิ่งยืนยันผลทางการแพทย์
ณ ชานเมืองของกรุงเทพมหานคร มีเด็กชายตัวน้อยอายุ 3 ขวบ คนหนึ่งอาศัยอยู่ เขาลุกขึ้นจากพรมแล้วเดินไปยังกระดานขาวที่ผนัง เด็กน้อยวาดภาพอย่างเพลิดเพลินด้วยปากกาหมึกสีส้ม ก่อนจะกลับมานั่งที่เดิม “เรา มีความสุขมากค่ะ” คุณแม่วัย 35 ปี กล่าว “สองถึงสามวันก่อนหน้านี้เราต้องคอยคะยั้นคะยอให้น้องโพลเดิน แต่น้องก็เดินได้ไม่ถึง 10 ก้าว” คุณแม่กล่าวด้วยรอยยิ้ม
เด็กน้อยในฝัน ขณะสัมภาษณ์อยู่นั้นน้องโพลก็เดินเตาะแตะไปรอบๆ พร้อมกับยิ้มกว้าง เด็กชายตัวน้อยมีความสุขกับการหยิบจับโทรศัพท์ของเล่น เขียนกระดาน และช่วยพี่สาวระบายสีในสมุด ซึ่งไม่น่าเชื่อเลยว่า 1 เดือนก่อนหน้านี้ เขาจะไม่สามารถเล่นและเดินไปรอบ ๆ แบบนี้ได้
ทั้งๆ ที่เด็กน้อยมีความน่ารักและได้รับการดูแลอย่างดีแล้ว แต่สิ่งที่คุณแม่ก็ยังคงวิตกกังวลคือ ลูกชายไม่สามารถนั่งได้ขณะที่มีอายุ 7 เดือน ซึ่งคุณแม่บอกกับเราว่า “หากถามคุณหมอ คุณหมอก็จะบอกว่า ไม่ต้องกังวล เพราะเด็กบางคนอาจมีพัฒนาการช้ากว่าเด็กคนอื่นๆ” แต่เมื่อครบ 1 ขวบ แล้วลูกชายก็ยังลุกขึ้นมานั่งไม่ได้ จึงเริ่มเห็นได้ชัดว่าลูกมีความผิดปกติ เธอยังกล่าวต่ออีกว่า “เขาเป็นเด็กที่น่ารักมาก และเราไม่อยากให้ความพิการนี้เป็นปมด้อยกับเขาค่ะ”
ตอนแรกไม่มีใครทราบว่าปัญหานี้เกิดจากอะไร ซึ่งแพทย์ต้องใช้เวลาถึง 8 เดือนก่อนที่จะสรุปออกมาเป็นคําพูดได้ว่าปัญหาที่พบเกิดจากภาวะสมองพิการซีพี (Cerebral palsy) สาเหตุที่ทําให้การวินิจฉัยล่าช้า เนื่องมาจากแพทย์ต้องใช้เวลาในการตรวจสอบกระดูกสันหลัง และกระดูกอื่นๆ รวมถึงทำการทดสอบหลายๆอย่างเพื่อตัดสาเหตุอื่นที่อาจเป็นเหตุให้เด็กเดินไม่ได้ ซึ่งผู้ป่วยที่เป็นภาวะสมองพิการซีพี (Cerebral palsy) นั้นมีความแตกต่างกันอย่างมากในแต่ละราย และไม่สามารถใช้การตรวจสอบเบื้องต้นเพื่อวินิจฉัยโรคได้
อาการทั่วไป ภาวะสมองพิการซีพี (Cerebral palsy) ความรุนแรงของอาการเกร็งกล้ามเนื้อจากความพิการทางสมองซีพีมีหลายระดับ ผลของภาวะสมองพิการซีพีมีตั้งแต่อาการเล็กน้อยถึงรุนแรง ซึ่งเด็กบางคนที่เป็นภาวะสมองพิการซีพีจะดูปกติดีทุกอย่าง ยกเว้นแค่บางครั้งที่จะตอบสนองช้ากว่าเด็กปกติ และร้อยละ 20 มักจะมีสภาวะจิตใจผิดปกติ ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีระดับสติปัญญาปกติ แม้ว่าจะมีความผิดปกติในด้านการควบคุมการแสดงออกและการตอบสนองต่อสิ่งเร้าซึ่งเป็นเหตุหนึ่งที่ทําให้หลายคนเชื่อว่าเด็กกลุ่มนี้มีระดับสติปัญญาต่ำ แต่ในความเป็นจริงแล้วบางคนก็ฉลาดมาก
ผู้อํานวยการฝ่ายวิจัยและพัฒนาของบริษัท ไทย สเตมไลฟ์ จํากัด ดร. Konstantinos Papadopoulos หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า ดร. คอสตาส อธิบายว่า “ภาวะสมองพิการซีพี เป็นภาวะที่ทำให้สมองไม่สามารถเจริญเติบโตจนสมบูรณ์ตั้งแต่ก่อนหรือหลังจากการคลอด โดยจะพบได้บ่อยขึ้นหากมีปัญหาระหว่างการคลอด และหลายคนเชื่อว่าปัญหาการขาดออกซิเจนและการติดเชื้อก็เป็นปัจจัยหนึ่ง แต่ขณะเดียวกันก็มีผู้ป่วยอีกหลายรายที่ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด ภาวะสมองพิการซีพีจะทําให้ทักษะทางการเคลื่อนไหวผิดปกติ มีอาการเกร็งกล้ามเนื้อ เป็นอัมพาตหรือชัก ซึ่งโรคนี้พบได้บ่อยกว่าที่คิด เพราะสามารถ พบได้ถึง 1 ใน 500 รายของเด็กทารก และในเด็กที่คลอดก่อนกําหนดจะพบได้มากถึง 1 ใน 3 นอกจากนี้ยัง พบว่าร้อยละ 20 ของเด็กที่เป็นภาวะสมองพิการซีพีมีปัญหาทางจิตใจและมักเกิดกับทารกที่คลอดก่อน
กําหนดมาก” ในกรณีของน้องโพลซึ่งดูคล้ายกับเด็กอายุ 3 ขวบคนอื่น ๆ เว้นแต่เพียงว่าเขามีกล้ามเนื้อขาอ่อนแรง ซึ่งสภาวะนี้เกิดจากการเกร็งของกล้ามเนื้อส่วนขาทั้ง 2 ข้าง โดยแพทย์กล่าวว่าอาการเช่นนี้ไม่มีวิธีการรักษาให้หายขาดได้ และความหวังเดียวคือการทำกายภาพบําบัด เพื่อป้องกันไม่ให้กล้ามเนื้อฝ่อ จากคําแนะนํานี้ทําให้น้องโพลได้รับการทํากายภาพบําบัดที่โรงพยาบาลสัปดาห์ละ 2 ครั้ง และให้ฝึกเดินเองที่บ้านทุกวัน
การลงทุนเพื่ออนาคต เพื่อเตรียมตัวรับมือกับปัญหา คุณแม่และคุณพ่อจึงปรึกษาหารือกับแพทย์ รวมถึงหาข้อมูลเกี่ยวกับภาวะสมองพิการซีพีทางอินเตอร์เน็ตเพื่อหาสิ่งที่อาจช่วยลูกชายของพวกเขาให้ดีขึ้น ทั้งคู่ค้นหาข้อมูลจนมาพบกับเทคนิคใหม่ซึ่งให้ผลการรักษาที่ดีกับเด็กชายรายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ซึ่งเด็กคนนั้นมีอาการใกล้เคียงกับน้องโพลบุตรชายของตน สิ่งที่ทั้งคุณแม่และคุณพ่อทราบมีเพียงแค่ว่าหลังจากผ่าน ไป 18 สัปดาห์เด็กชายคนนั้นก็เริ่มเดิน ว่ายน้ำ และพยายามที่จะวิ่งและอีกอย่างที่ทราบคือ ผู้ปกครองของเด็กรายนั้นได้เก็บเลือดสายสะดือของตัวเด็กขณะคลอด
คุณพ่อของน้องโพล บอกว่า “เราโชคดีครับ ที่เก็บสเต็มเซลล์จากสายสะดือตอนคลอดน้องโพล ...พี่สาวผมเป็นคนแนะนําให้ทําครับ พี่สาวเขาเก็บสเต็มเซลล์จากสายสะดือของลูกชายก่อน เลยแนะนําให้ ครอบครัวผมทําเหมือนกัน” “ตอนแรกเราก็ไม่ทราบว่าจะมีประโยชน์อย่างไรนะคะ แต่พอเทียบการเก็บรักษาเลือดไว้ตลอดชีวิตกับราคา 100,000 บาท ก็ถือว่าคุ้มค่าค่ะ คือเราคิดว่ามันอาจจะมีประโยชน์ในอนาคต กรณีที่เกิดอะไรขึ้นกับลูก และที่สําคัญดิฉันไม่รู้ด้วยค่ะว่า ดิฉันจําเป็นต้องใช้สเต็มเซลล์นั้นรักษาลูกไม่ถึง 3 ปีหลังคลอด” คุณสุมาลีกล่าวเสริม
กระบวนการทั้งหมดใช้เวลา 10 วัน เพราะว่าน้องโพล จําเป็นต้องฉีดยาบางอย่างก่อน แต่การรักษาจริง ๆ ใช้เวลาเพียง 10 นาที เท่านั้น ซึ่งเป็นการให้สเต็มเซลล์จากรกและสายสะคือปริมาตร 30 มิลลิลิตร (ประมาณ 2 ช้อนโต๊ะ) เข้าสู่เส้นเลือดดําของน้องโพล “หลังจากเอาปลายเข็มฉีดยาคาไว้ที่เส้นเลือดแล้ว น้องโพลก็ดูทีวีและหัวเราะกับการ์ตูน คุณหมอของน้องให้อยู่ห้องไอซียูต่อเพื่อดูอาการอีกหนึ่งวันค่ะ น้องมีอาการคันบ้างตอนกลางคืนแต่พอเช้าก็หายเป็นปกติดีนะคะ” คุณสุมาลี กล่าวต่อ
“สเต็มเซลล์จากรกและสายสะดือเริ่มมีการใช้ในสหรัฐอเมริกาก่อนที่จะแพร่หลายในยุโรปและเอเชีย ซึ่งปัจจุบันการรักษาด้วยวิธีนี้ยังอยู่ขั้นการทดสอบในมนุษย์และยังไม่มีรายงานที่เขียนถึงผลของการรักษาดังกล่าว แต่อย่างไรก็ตามเด็กๆ ที่ได้รับการรักษาด้วยสเต็มเซลล์จากรกและสายสะดือของตัวเอง กลับพบว่าสามารถยืนบนเท้าตัวเองได้เร็วกว่าการรักษาด้วยวิธีกายภาพบําบัดตามปกติ ซึ่งบางครั้งต้องใช้เวลานาน 8 ถึง 9 ปี ก่อนที่จะเห็น ความเปลี่ยนแปลงชัดเจน” ดร. Kostas กล่าว
เดินต่อไป! “ผลที่เราเห็นหลังจากการรักษาเพียง 1 สัปดาห์ เป็นสิ่งที่ให้กําลังใจเรามากๆ ค่ะ” คุณแม่น้องโพลกล่าว “น้องโพลเคยไม่ชอบและเฉยเมยต่อการเดิน แต่หลังจากการรักษา เขาดูตื่นตัวและสนใจในสิ่งรอบตัว ตอนนี้เขาพูดชัดแล้วด้วยค่ะ”
คุณแม่กําลังใช้แขนเพียงข้างเดียวประคองลูกให้ยืน พร้อมกับชี้ไปยังเท้าทั้งสองข้างของลูก “ดูสิคะเท้าทั้งสองข้างทํามุมเหมือนเท้าปกติแล้ว ตอนนี้ไม่จําเป็นต้องใช้รองเท้าช่วยเดินอีกต่อไปแล้วค่ะ ก่อนหน้านี้ขาซ้ายเขาเคยมีปัญหาแต่ตอนนี้ไม่มีแล้ว และถึงแม้ว่าขาทั้งสองข้างของน้องอาจจะยังไม่แข็งแรงดีแต่เราก็ดีใจ และจะดีใจมากๆ ถ้าลูกดีขึ้นจนสามารถเดินด้วยตัวเองและไปโรงเรียนได้เหมือนกับเด็กคนอื่นค่ะ
ดร. Kostas กล่าวย้ำเพื่อให้คุณสุมาลีมั่นใจว่า “ผมทราบว่าน้องโพลอาจไม่หายดี 100% แต่ผมหวังว่ามันจะเพียงพอที่จะช่วยให้เขาใช้ชีวิตแบบคนปกติได้”