รกคือสมอเรือของชีวิต
รกคือสมอเรือของชีวิต ชื่อภาษาอังกฤษของรกมีรากศัพท์มาจากภาษากรีกคำว่า “plakous/plakounta” ซึ่งแปลว่าก้อนเค้กเนื่องจากรูปร่างที่มีลักษณะกลม รกเป็นส่วนเชื่อมต่อระหว่างมดลูกของมารดาและลูกในท้องที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ เพราะมีรก การตั้งครรภ์จึงเกิดขึ้นได้ รกทำหน้าที่เป็นปอดในการแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนกับคาร์บอนไดออกไซด์ เป็นไตในการกรองของเสีย เป็นระบบย่อยอาหารที่ดูดซึมสารอาหาร เป็นต่อมไร้ท่อที่สร้างฮอร์โมนมากมายและโกรทแฟคเตอร์ที่รักษาสมดุลระบบฮอร์โมนและท้ายที่สุด เป็นตัวป้องกันของระบบภูมิคุ้มกันไม่ให้เกิดการกำจัดการตั้งครรภ์ สภาพแวดล้อมด้านภูมิคุ้มกันและฮอร์โมนที่ถูกสร้างอย่างมีเอกลักษณ์นี้ เรียกว่า ฟีโตพลาเซนทาลยูนิต (fetoplacental unit) จะดูแลให้ทารกในครรภ์มีการเจริญเติบโตปกติโดยปราศจากการรบกวนด้วยการขนส่งออกซิเจนและสารอาหารที่ไม่หยุดชะงักร่วมกับการกำจัดของเสียที่ทารกผลิตจากกระบวนการทางเมตาบอลิก มดลูกกับรก (มารดาและทารก) จะไม่เชื่อมกันแต่จะสัมผัสชิดกันเพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนอย่างต่อเนื่อง ความล้มเหลวในการทำงานของรกจะเป็นอันตรายต่อการตั้งครรภ์
หลังคลอดทารก ตัวรกจะแยกตัวออกจากมดลูกและหลุดออกมาหลังจากทารกคลอดเรียกว่า รกคลอด รกและเยื่อหุ้มรกเป็นเนื้อเยื่อที่เต็มไปด้วยเซลล์เอ็มเอสซีที่มีศักยภาพมหาศาลในการฟื้นฟู เซลล์เอ็มเอสซีจากเนื้อเยื่อเหล่านี้มีศักยภาพในการเจริญเติบโตมากกว่าเซลล์เอ็มเอสซีจากวาร์ตันเจลลี่ของสายสะดือ (Wharton’s Jelly) และสามารถเติบโตเป็นกระดูก กระดูกอ่อน หัวใจ ไขมัน กล้ามเนื้อ เซลล์ประสาท ตับ ตับอ่อน เส้นเลือด เซลล์ในระบบภูมิคุ้มกัน ผิวหนัง ตามการกระตุ้นที่ได้รับ เซลล์เอ็มเอสซีจากผู้ให้มีความทนทานสูงดังนั้นจึงสามารถหลบหลีกการตรวจจับเซลล์แปลกปลอมในระบบภูมิคุ้มกันของผู้รับ เซลล์เหล่านี้สามารถหลั่งสารไซโตไคน์ และสร้างสภาพแวดล้อมที่กดระบบภูมิคุ้มกันเฉพาะที่ขนาดเล็กเพื่อลดการอักเสบที่สัมพันธ์กับสภาวะที่เกิดจากความเสื่อมมากมายหลายชนิด เซลล์เหล่านี้สามารถเป็นแหล่งเซลล์ทดแทนสำหรับการรักษาทางเวชศาสตร์ชะลอวัย เวชศาสตร์การฟื้นฟู รวมทั้งถูกใช้ในการรักษาโรคทางสมองและภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติหลายชนิด ในอนาคตที่จะมาถึง การรักษาด้วยเซลล์เอ็มเอสซีจากรกจะเป็นคำตอบที่เป็นความหวังสำหรับโรคที่ยังไม่มีวิธีรักษาในปัจจุบันอีกมากมาย (1)
Table 10.1 Differentiation potential of human placenta and amniotic fluid mesenchymal stem cells
ตารางที่ 10.1 ศักยภาพในการพัฒนาไปเป็นเซลล์ชนิดต่างๆของเซลล์เอ็มเอสซีจากเนื้อรกและน้ำคร่ำ
Cell Type
ชนิดเซลล์
Expression marker and/or phenotype
สิ่งบ่งชี้ชนิด/ประเภทที่เซลล์แสดง
Multi-lineage SP cells
กลุ่มต้นกำเนิดเซลล์หลายชนิด
HLA I(-)/II(-), HLA I(+)/TI(-)
Angiogenic
กลุ่มเซลล์สร้างหลอดเลือด
Flt-1, KDR, ICAM-1, CD34
Hepatic
กลุ่มเซลล์ตับ
Albumin, HNF-4, Al AT
Pancreatic
กลุ่มเซลล์ตับอ่อน
PDX-1, PAx-6, NKx2.2, insulin, glucagons
Neurogenic
กลุ่มเซลล์สมอง
Release of catecholamine,
acetylcholine, neurotropic factors,
activin, noggin, neurofilament
Skeletal myogenic
กลุ่มเซลล์กล้ามเนื้อลาย
Myosin
Cardiomyogenic
กลุ่มเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ
MyoD, desmin
Adipogenic
กลุ่มเซลล์ไขมัน
Oil Red-O stain
Chondrodenic
กลุ่มเซลล์กระดูกอ่อน
collagen type II immunochemical detection
Osteogenic
กลุ่มเซลล์กระดูก
von Kossa stain, alkaline phosphatase, osteocalcin
*Side populations cells กลุ่มเซลล์หลายชนิด
San Rafael (CA): Morgan & Claypool Life Sciences.
Copyright © 2010 by Morgan & Claypool Life Sciences.
ที่ไทยสเตมไลฟ์
บางครั้งเราสามารถให้บริการ
เก็บเลือดจากรก
วิธีนี้เป็นทางเลือกเมื่อเลือดจากสายสะดือที่เก็บได้มีปริมาณน้อย การเก็บเลือดจากรกจะทำ “นอกมดลูก” หมายถึงการเก็บเลือดหลังรกคลอด เลือดจากรกเหมือนกับเลือดจากสายสะดือซึ่งจะเข้าสู่กระบวนการทางห้องปฏิบัติการแบบเดียวกัน
เซลล์เอ็มเอสซีจากแหล่งเหล่านี้แตกต่างจากสเต็มเซลล์เม็ดเลือดที่อยู่ในเลือดสายสะดือ เซลล์เอ็มเอสซีเหล่านี้จะอ่อนกว่าเซลล์เอ็มเอสซีจากสายสะดือและมีความสามารถในการเจริญเติบโตที่หลากหลายกว่า (ดูได้จากตารางด้านบน) ร่วมกับมีสเต็มเซลล์เยื่อบุผิวชั้นในที่สามารถกระตุ้นการสร้างหลอดเลือด และสเต็มเซลล์เยื่อบุชั้นนอกที่เป็นเซลล์ต้นกำเนิดในการสร้างผิวหนัง เยื่อหุ้มรกถูกใช้มานานกว่า 10 ปีกับแผลไฟไหม้และข้อบ่งชี้ทางผิวหนังอื่นๆ การผ่าตัดศัลยกรรมกระดูก ทันตกรรม ระบบทางเดินปัสสาวะ ศัลยกรรมหูคอจมูก และศัลยกรรมประสาท ในขณะที่เนื้อรกถูกใช้กับจักษุศัลยกรรมมานานแล้ว เส้นเลือดจากรกถูกนำไปใช้เป็นหลอดเลือดเทียม งานวิจัยทางคลินิกที่ศึกษาเซลล์เอ็มเอสซีกับโรคแพ้ภูมิตนเอง ผิวหนัง กระดูกมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ฯลฯ ที่ไทยสเตมไลฟ์ คุณจะได้รับข้อเสนอ 2 แบบ แบบแรกเป็นการฝากเก็บแช่เยือกแข็งเนื้อเยื่อสำหรับการเพาะในอนาคต แบบที่ 2 คือการเก็บแบบแรกร่วมกับการเพาะเลี้ยงเซลล์เอ็มเอสซีจากเนื้อเยื่อก่อนแช่เยือกแข็ง